logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ ขี้ลืม หลงลืม

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ขี้ลืม หลงลืม

ขี้ลืม (Forgetfulness) ไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะหนึ่งที่คนเราอาจจำอะไรไม่ได้ เช่น จำชื่อคนที่เคยรู้จักมานานไม่ได้ จำไม่ได้ว่าตนเองวางสิ่งของไว้ตรงไหน จำไม่ได้ว่าก่อนออกจากบ้านปิดไฟในห้องนอนหรือยัง ซึ่งเป็นการลืมในสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและมักเป็นเรื่องปัจจุบัน ซึ่งเป็นความจำในระยะสั้น (Recent memory, ความสามารถจำในสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นได้) โดยทั่วไปมักไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต

ขี้ลืมอาจเกิดจากการมีสมาธิไม่ดี ไม่ได้ใส่ใจในสิ่งนั้น/กิจกรรมนั้น มีภาวะรีบเร่ง ทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน นอนไม่พอ หรือแม้การกินยานอนหลับ ยาลดน้ำมูก ก็อาจทำให้ลืมได้ง่าย

  • หลงลืม” หมายถึง ลืมบางสิ่งบางอย่าง บางกิจกรรมที่อาจส่งผลต่อการดำรงชีวิต รวมทั้งการลืมเรื่องทั้งในระยะสั้นและระยะกลาง (Remote memory, ความสามารถในการจำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมาในระยะไม่นานนัก)
  • ขี้ลืม” จะไม่มีการลืมความจำระยะกลาง หรืออีกนัยหนึ่งคือ “หลงลืม” มีระดับความสำคัญหรือรุนแรงมากกว่า “ขี้ลืม” เช่น ต้มน้ำไว้แล้วลืมปิดแก๊ส พอนึกออกก็รีบวิ่งไปปิดแก๊ส แต่น้ำก็แห้งหมดแล้ว เป็นต้น
  • อาจกล่าวได้ว่าคำว่า “หลงลืม”นั้น เราอาจใช้บรรยายคนที่มีอาการ “ขี้ลืมเป็นประจำ” และเริ่มมีอาการลืมที่รุนแรงขึ้น เริ่มส่งผลต่อการดำรงชีวิต เราจึงอาจเรียกว่า “ขี้หลงขี้ลืม” หรือ “หลงๆลืมๆ”
  • ภาวะซึมเศร้า
  • ภาวะวิตกกังวล อย่างแรง
  • ผลข้างเคียง /อาการไม่พึงประสงค์จากยาบางชนิด เช่น ยากันชักบางชนิด ยานอนหลับบางชนิด ยารักษาทางจิตเวชบางชนิด
  • อาการลืมตามวัย (Aging process)
  • โรคสมองเสื่อม (Dementia)

อาการขี้ลืม หลงลืม กับสมองเสื่อม (Dementia) มีลักษณะแตกต่างกัน ดังตาราง

 

ขี้ลืม

สมองเสื่อม

ลืมเรื่องเล็กๆ น้อย

ใช่

ใช่

ลืมเรื่องสำคัญ

ไม่ใช่

ใช่

เป็นมากขึ้น

ไม่ใช่

ใช่

บุคลิกเปลี่ยนแปลง

ไม่ใช่

ใช่

ความคิดมีเหตุผล

ปกติ

ผิดปกติ

การวางแผน

ปกติ

ผิดปกติ

อารมณ์

ปกติ

ผิดปกติ

ความสามารถเดิมคงอยู่

ปกติ

ผิดปกติ

เรียนรู้สิ่งใหม่

ได้

ลำบาก

การดำรงชีวิต

ปกติ

ผิดปกติ

ตรวจประเมินด้วยแบบทดสอบทางจิตเวช (Mental state examination)

ปกติ

ผิดปกติ